นักวิทย์พบ “จระเข้ตัวเมียมีลูกเอง” แม้ไม่ได้ใกล้ชิดตัวผู้เลย 16 ปี
นักวิทยาศาสตร์รายงานพบกรณีแรกของจระเข้อเมริกัน (Crocodylus acutus) ตัวเมีย ที่สามารถ “ให้กำเนิดลูกได้โดยไม่ได้ผสมพันธุ์” (Virgin Birth) ทั้งที่มันอยู่เพียงลำพังและไม่ได้ใกล้ชิดกับตัวผู้เลยเป็นเวลาประมาณ 16 ปี
จระเข้ตัวดังกล่าวถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ปาร์เก เรปทิลันเดีย (Parque Reptilandia: สวนสัตว์เลื้อยคลาน) ที่ประเทศคอสตาริกาเพียงลำพังตั้งแต่อายุ 2 ขวบเมื่อปี 2002 แต่จู่ ๆ ในเดือนมกราคม 2018 คนดูแลสวนสัตว์กลับพบไข่จระเข้จำนวน 14 ฟองในกรง แต่ไข่เหล่านี้ไม่ได้ฟักออกมาเป็นตัว
จุดกำเนิดของ “การช่วยตัวเอง” มีมาตั้งแต่ 40 ล้านปีก่อน!
แดนสวรรค์เรื่องเพศ เมื่อ “เซ็กซ์” กำลังถูกผลักดันเป็น “กีฬา” ในสวีเดน
เรื่องแปลก! ชะนีอยู่ในกรงแค่ตัวเดียวแต่กลับตั้งท้องขึ้นมา
นักวิจัยกล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) หรือการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยใช้แค่เซลล์ไข่เจริญเป็นตัวอ่อนโดยไม่ต้องปฏิสนธิกับสเปิร์ม โดยทั่วไปจะพบในพืชและสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะแมลงเป็นส่วนกมา
ทั้งนี้ พาร์ธีโนเจเนซิสที่เกิดขึ้นกับเจ้าจระเข้ตัวนี้เป็นเพียงการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดขึ้นได้บางครั้ง (Facultative Parthenogenesis) มี) เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีรายงานพบแค่ในนก ปลา กิ้งก่า และงู แต่นี่เป็นครี่งแรกที่เกิดขึ้นในจระเข้
นักวิจัยได้ทำการศึกษาตัวอ่อนในไข่ พบว่ามีรูปร่างสมบูรณ์ โดยยังไม่ตาย เพียงแต่ยังไม่ฟักออกมาเป็นตัว
เมื่อทำการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเทียบระหว่างเนื้อเยื่อจากหัวใจของลูกจระเข้ในไข่เทียบกับเซลล์จากผิวหนังของจระเข้ตัวแม่ พบว่า ตรงกัน 99.9% ซึ่งยืนยันว่าลูกจระเข้ที่อยู่ในไข่ได้รับพันธุกรรมาจากแม่เท่านั้น และไม่มีพ่อ
ดร. วอร์เรน บูธ จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในสหรัฐฯ ซึ่งศึกษาเรื่องของพาร์ธีโนเจเนซิสมานานมากกว่า 10 ปี บอกว่า เขาไม่แปลกใจกับการค้นพบนี้
“เราพบเหตุการณ์นี้ในปลาฉลาม นก งู และกิ้งก่า และมันเป็นเรื่องธรรมดาและแพร่หลายอย่างมาก” ดร.บูธกล่าว
เขาสันนิษฐานว่า สาเหตุที่ก่อนหน้านี้ไม่มีรายงานพบพาร์ธีโนเจเนซิสในจระเข้นั้นเป็นเพราะผู้คนไม่พบตัวอย่างของพวกมัน “มีรายงานเกี่ยวกับการเกิดพาร์ธีโนเจเนซิสเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อผู้คนเริ่มเลี้ยงงู แต่คนเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานโดยเฉลี่ยมักไม่ได้เลี้ยงจระเข้”
นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบนี้อาจบ่งชี้ว่า บรรพบุรุษของจระเข้ในอดีต เช่นไดโนเสาร์ ก็อาจมีความสามารถในการสืบพันธุ์ด้วยตนเองแบบนี้เช่นกัน
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดขึ้นได้บางครั้งนี้ ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่เชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตบางชนิดเผชิญกับสภาวะที่ท้าทายหรือไม่เอื้ออำนวย เช่น ความเครียดจากสิ่งแวดล้อม หรือการไร้คู่ครอง
ดร.บูธบอกว่า ทฤษฎีหนึ่งคือ พาร์ธีโนเจเนซิสอาจเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตบางชนิด (ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยตัวเอง) เมื่อจำนวนประชากรของพวกมันลดน้อยลง และอาจใกล้จะสูญพันธุ์ และสิ่งนี้อาจเคยเกิดขึ้นกับไดโนเสาร์บางสายพันธุ์เมื่อจำนวนของพวกมันลดน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
“ข้อเท็จจริงที่ว่ากลไกของการเกิดพาร์ธีโนเจเนซิสนั้นเหมือนกันในสปีชีส์ต่าง ๆ มากมายบ่งชี้ว่า มันเป็นลักษณะโบราณที่สืบทอดมาทุกยุคทุกสมัย สิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าไดโนเสาร์สามารถสืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้ได้เช่นกัน” ดร.บูธกล่าว
เรียบเรียงจาก BBC / The Guardianคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ภาพจาก AFP